หมวดอักษร   ชื่อภาพ ระบบนิเว
ภาพโดย คุณกัมพล ไมตรีจิตร์

ในปี พ.ศ. 2533 พระบาทพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานพระราชดำริ ให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และกรมชลประทาน ร่วมกันศึกษาหาวิธีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับขยะมูลฝอย น้ำเสีย และการรักษาสภาพระบบนิเวศป่าชายเลนด้วยวิธีทางธรรมชาติ โดยใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ บริเวณตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พื้นที่ประมาณ 1,135 ไร่ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อทำการศึกษาและวิจัยตามพระราชดำริ ในที่สุดจึงได้รูปแบบของเทคโนโลยีเพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยวิธีธรรมชาติช่วยเหลือธรรมชาติ ได้แก่เทคโนโลยีการทำปุ๋ยหมักจากขยะ และเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย ระบบพืชและหญ้ากรองน้ำเสีย ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม และระบบแปลงพืชป่าชายเลน ทำให้บริเวณป่าชายเลนแถบแหลมผักเบี้ยแห่งนี้ ซึ่งในอดีตนั้นมีปัญหาน้ำเน่าเสีย จนถึงขั้นไม่สามารถนำน้ำมาใช้ในการอุปโภคหรือบริโภคได้เลย กลับฟื้นคืนมามีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ งดงาม และเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างๆได้อีกครั้ง

 

หมวดอักษร ส  ชื่อภาพ ตรอเบอร์รี่
ภาพโดย คุณอภิชญา กำปั่นทอง

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโครงการหลวงในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริให้นักวิจัยศึกษาค้นคว้าการปลูกสตรอว์เบอร์รี่ เพื่อให้ชาวเขามีรายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น โดยมีสตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 80 เป็นที่นิยมปลูกกันแพร่หลายมากที่สุด อย่างไรก็ตามสตรอว์เบอร์รี่สายพันธุ์ดังกล่าวยังมีลักษณะด้อยบางประการ จึงต้องมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้นและสามารถเก็บรักษาได้ยาวนานยิ่งขึ้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จึงร่วมมือกับมูลนิธิโครงการหลวง ทำการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่ โดยมีแปลงทดลองอยู่ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก และที่เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทำให้บังเกิดผลเป็นสตรอว์เบอร์รี่สายพันธุ์ใหม่ ข้อพิเศษของสายพันธุ์นี้คือ มีกลิ่นหอมมาก ผิวค่อนข้างคงทนต่อการขนส่ง เนื้อผลละเอียดอ่อน มีแอนโทไซยานินสูง ซึ่งสารนี้จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีประโยชน์ต่อร่างกาย สกัดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อพันธุ์ว่า พันธุ์พระราชทาน 88 เนื่องในโอกาสที่พระองค์ท่านมีพระชนมพรรษาครบ 88 พรรษา นับเป็นสตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทานพันธุ์สุดท้ายในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9

 

หมวดอักษร ฮ  ชื่อภาพ ห้วยฮ่องไคร้
ภาพโดย คุณสุกฤษฏิ์ หิรัญสารพงศ์

ฟาร์มเลี้ยงแพะในโครงการพัฒนาด้านการปศุสัตว์ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติบริเวณป่าขุนแม่กวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระราชดำริจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ขอบเขตพื้นที่โครงการประมาณ 8,500 ไร่ โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลอง หารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคเหนือ จากต้นทางซึ่งเป็นการศึกษาสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ไปจนถึงปลายทางซึ่งเป็นการศึกษาด้านการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่างๆ ผสมผสานกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม ด้านการปศุสัตว์และโคนม รวมถึงด้านเกษตรอุตสาหกรรม เมื่อทางศูนย์ฯกระทำการศึกษาทดลองจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็จะนำออกเผยแพร่ ฝึกอบรม ส่งเสริมให้ราษฎรและหน่วยราชการนำไปปฏิบัติ เพื่อให้มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว ต่อเนื่องไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นให้เป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน” บังเกิดผลสำเร็จสมตามพระราชประสงค์ ดังมีพระราชดำริว่า ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯทำหน้าที่เสมือน “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต หรืออีกนัยหนึ่งเป็น “สรุปผลของการพัฒนา ที่ประชาชนสามารถเข้าไปเรียนรู้และนำไปปฎิบัติได้จริงนั่นเอง