ลองนึกภาพวีดีโอ หรือคลิปที่มีการเคลื่อนไหวไปอย่างรวดเร็ว ประมาณว่าตั้งแต่ก่อนพระอาทิตย์ตก ยันมืดเพียงในช่วงเวลาไม่กี่วินาที ซึ่งนี่ละครับคือรูปแบบของ Time-Lapse หรือการเก็บช่วงเวลาหนึ่ง โดยใช้เทคนิคเร่งความเร็ว ย่นระยะเวลา จาก ปี เดือน วัน ชั่วโมง มาเหลือเป็นเพียงนาที หรือไม่กี่วินาทีนี่เอง ซึ่งสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์อยู่แล้วนั่นจะทราบกันดีว่าสำหรับการถ่าย Time-Lapse แล้ว การเตรียมตัวขั้นพื้นฐานนั้นประกอบไปด้วย

  • กล้องถ่ายภาพ
  • ขาตั้งกล้อง
  • รีโมทตั้งเวลา

พอมาถึงจุดนี้แล้วต้องบอกเลยว่าอย่าพึ่งถอดใจนะครับ เพราะ Time-Lapse เป็นอะไรที่สนุก และยิ่งด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันแล้ว มันยิ่งง่าย และสนุกมากขึ้นไปอีกครับ เพราะทั้งหมดนี้มันจะเหลือให้เราใช้เพียงแค่สองอย่าง (หรือ 1 ก็ได้) เท่านั้นเอง ซึ่งสำหรับกล้องนี้ก็ต้องแนะนำเป็น Canon EOS 6D Mark II ที่มาพร้อมกับความสามารถในการถ่าย Time-Lapse 4K ได้ในตัว และของอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะจำเป็นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมนั่นก็คือ ขาตั้งกล้อง ซึ่งในส่วนนี้ก็จะทิ้งไว้ให้พิจารณากันตามความสมควรกันเองนะครับ

เรามาเริ่มต้นกันที่ Canon EOS 6D Mark II กันเลยดีกว่าครับ

เริ่มต้นที่เปิดกล้องนะครับ แล้วไปที่โหมดการถ่ายวีดีโอ แล้วกด Menu ซึ่งเราเองก็จะเห็นเป็นหน้าจอแบบรูปข้างบนนี้

ยังอยู่ในหมวดสีแดงของกล้องนะครับ แต่เลื่อนไปที่แถว 5 ซึ่งเราก็จะเห็น Time-lapse movie ซึ่งจะขึ้นว่ายังไม่ได้เปิดใช้งาน (Disable) อยู่ หลังจากนั้นกดเข้าไปเลยครับ

พอกดเข้ามาข้างในแล้วเราก็ยังจะสังเกตเห็นว่าโดยเกือบทั้งหมดแล้วนั้น เราเองยังไม่สามารถที่จะใช้งานได้ เพราะฉะนั้นให้กดเข้าไปเปิดการใช้งาน ณ ตรงที่มันยังขึ้นว่า Disable อยู่เลยครับ

ทีนี้สำหรับการใช้งานนั้น สิ่งแรกเลยที่เราจะต้องทำการเลือกก่อนนั้นคือขนาดความละเอียดที่เราต้องการ ซึ่งสำหรับเจ้ากล้อง Canon EOS 6D Mark II ตัวนี้นั้นก็จะมีอยู่สองตัวเลือก ระหว่างขนาด 4K และ FHD (Full High Definition) เชิญเลือกได้ตามความต้องการและกำลังที่เหมาะสมของคอมคุณเลย

ขั้นตอนต่อไป หลังจากได้เลือกความละเอียดที่เราต้องการแล้วนั้น ให้เรากดเข้าไปที่ Interval เลยครับ

ซึ่ง Interval นี่ก็คือ ช่วงระยะเวลาที่เราประสงค์ทีจะให้กล้องนั้นบันทึกภาพ ซึ่งอย่างในภาพนี้จะอยู่ที่ 00:00:05 หรือแปลว่าจะบันทึกภาพทุก 5 วินาที เสร็จแล้วให้ไปที่ OK เลยนะครับ แล้วเข้าไปยัง No. of shots ต่อเลย

สำหรับ No. of shots นี้ก็คือจำนวนภาพทั้งหมดที่เราประสงค์ให้กล้องนี้บันทึกระหว่างถ่าย Time-lapse ซึ่งในภาพนี้ก็ได้ตั้งอยู่ที่ทั้งหมด 400 ภาพนี่เอง เลือกจำนวนภาพทั้งหมดที่เราอยากให้กล้องบันทึกได้เลยครับ ทีนี้อยากให้ลองสังเกต ระยะเวลาถ่ายทั้งหมด (00:33:15) และระยะเวลาวีดีโอที่จะได้ (00:00:16) ซึ่งแปลว่า ณ Interval ที่ทุก 5 วินาที โดยภาพทั้งหมดที่ 400 นั้นจะต้องตั้งกล้องถ่ายเป็นช่วงเวลาทั้งหมดครึ่งชั่วโมงกว่า แล้วจึงจะได้วีอีโอ เป็นระยะเวลา 16 วินาที ซึ่งพอเราเนทั้งหมดนี้แล้ว เราเองจึงจะรู้สึกและเข้าใจได้ว่าค่าทุกอย่างนี้สัมพันธ์กัน เพราะฉะนั่น จงเลือกให้เหมาะสมกันนะครับ

LCD auto off นี่คือการที่ระหว่างถ่ายนั้นจอกล้องจะดับไปเองเพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน (แต่กล้องยังทำงานอยู่นะ) ซึ่งอันนี้ผมเองเปิดใช้งานไว้เลยครับ ต่อมาก็จะเป็น Beep as img taken หรือแปลเป็นไทยง่ายเลยก็คือกล้องนั้นจะส่งเสียง Beep ทุกครั้งที่มีการบันทึกภาพ ซึ่งสำหรับอันนี้ผมปิดการใช้งาน

ทีนี้พอเราได้ตั้งค่าทุกอย่างตามความต้องการของเราหมดแล้ว ให้กดปุ่ม Shutter ครึ่งนึง หรือปุ่ม START/STOP ก็ได้ครับ แล้วเราก็จะมากันที่หน้านี้ ขั้นตอนต่อไปคือมันจะบอกว่าให้ลองภาพโดยการกดถ่ายโดยใช้ปุ่ม Shutter ปกติเลย และถ้าพร้อมแล้วให้กด START/STOP

ซึ่งพอเรากด START/STOP พร้อมสำหรับการถ่าย Time-lapse แล้ว ให้เช็คการตั้งค่าบนหน้าจอเพื่อความมั่นใจ แล้วกดปุ่ม Shutter เพื่อเริ่มต้นการบันทึก Time-lapse ได้เลย