1. ควรถ่ายในโหมด M เท่านั้น

AV แล้วชดเชยแสงลง ด้วยความรวดเร็วเพื่อที่จะไม่ให้พลาดช่วงเวลาสำคัญ

M หรือ Manual ที่ซึ่งในโหมดนี้เราในผู้จัดการกล้องต้องตั้งค่าทุกอย่างเอง ตั้งแต่ Shutter Speed – Aperture – ISO ซึ่งข้อดีที่เห็นได้อย่างชัดเจนตรงนี้เลยคือการที่ผู้ถ่ายภาพสามารถที่จะความคุมค่าตัวแปรในการถ่ายภาพได้หมด แต่มันก็ไม่ได้จำเป็นเสมอไปนะครับ โหมดอื่น ๆ อาทิเช่น AV หรือ TV ก็มีจุดเด่นในตัวของมันเอง ซึ่งอย่างแน่ ๆ เลยก็คือการที่ในสองโหมดนี้เราเพียงแต่ปรับค่ารูรับแสงอย่างเดียว (ในโหมด AV) หรือจะเป็นความเร็วชัตเตอร์ (ในโหมด TV) ซึ่งก็ได้อำนวยความสะดวก ความรวดเร็ว ช่วยให้เราสามารถที่จะจดจ่อกับการเก็บช่วงเวลาสำคัญได้มากขึ้นไปได้อีก และในอีกประเด็นที่ควรพิจารณาก็คือความเคยชินในการจัดการของผู้ที่เป็นช่างภาพ คือช่างภาพแต่ละคนจะมีการจัดการสำหรับการถ่ายภาพที่แตกต่างออกไปตามประสบการณ์และความสะดวกของแต่ละบุคคล สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้น ยังไม่ได้มีประสบการณ์และความเคยชินมากนัก เมื่อไปรับงานแล้ว การใช้โหมด M ในบางสถานการณ์คงที่จะไม่เหมาะ หรือเวลาไปเที่ยวกับคนสำคัญ เราจะมามัวนั่งปรับค่าก็คงไม่ดีนักเมื่อเทียบกับเวลาที่ให้อีกฝ่ายรอ

2. ไม่ควรถ่ายจากข้างหลัง

ในบางมุมมอง ในบางตำรา การถ่ายภาพจากข้างหลังคงดูไม่ค่อยมีประโยชน์แบบว่า “ถ่ายมาทำไม มันไม่ได้เล่าเรื่องอะไรเลย”ทีนี้แล้ว ตรงนี้เลย ภาพถ่ายจากข้างหลังแบบนั้น มีการเล่าเรื่องในตัวของมัน ในองค์ประกอบภาพรวม ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่อีกกับผู้ชมภาพว่าเข้าถึงและรับรู้ถึงตัวองค์ภาพรึเปล่า แต่อย่างไรก็ตามช่างภาพเองก็ควรที่จะรับผิดชอบต่อเรื่องราวของภาพที่สื่อออกมา   

3. จงไม่มีตัวตน หรือล่องหน

การถ่ายภาพหมู่ ต้องการความมีตัวตนของช่างภาพ เพื่อที่จะเรียกความสนใจ

บางครั้งในการทำงานของช่างภาพ การทำตัวให้ไม่มีตัวตนหรือล่องหนคือเพื่อที่จะไม่ให้ตัวตนของช่างภาพเข้าไปรบกวนในบริบทของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ หรือเพื่อที่จะปล่อยให้ตัวแบบเป็นตัวของตัวเอง เต็มที่มากที่สุดโดยที่ช่างภาพไม่ได้เข้าไปรบกวน แต่ก็เหมือเดิมครับ มันไม่ได้จำเป็นเสมอไป และตลอดไป การมีตัวตนของช่างภาพ ณ​ ช่วงการทำงาน หรือแค่เดินถ่ายรูปเล่น ก็ไม่ได้จะทำให้ภาพดูแย่ แถมยังสามารถสร้าง Eyes-contact ในบางโอกาสได้อีกด้วย ก็ยังดีกว่าการทำตัวแบบลับ ๆ แอบ ๆ ดูเป็นที่น่าสงสัย แต่ในทีนี้มันก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์นะครับ

4. ไม่ควร Crop ภาพ

Crop เพื่อการนำเสนอที่ชัดเจน

สมัยแต่ก่อนตั้งแต่เริ่มต้นถ่ายรูปใหม่ ๆ ก็จะมีได้ยินมา หรืออ่านเจอมาบ้างว่าเราไม่ควรที่จะ Crop ภาพที่ถ่ายมา เพราะว่าการ Crop ภาพนั้นจะทำให้คุณภาพของภาพลดน้อยลง (ใช่ครับ การCrop ภาพนั้นทำให้คุณภาพของภาพนั้นลดน้อยลง)และดูไม่ค่อยเป็นมืออาชีพ ...​ เวลาผ่านไป ...​ เนื่องด้วยเทคโนโลยี และรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลายในสมัยนี้ และคุณภาพของภาพที่ได้พัฒนามาไกลมากแล้ว ผมบอกเลยว่า “จัดไปให้เต็มที่เลยครับ”ลองดูเอาครับ เอาเราเป็นที่ตั้ง (ถ้ามันไม่ใช่รูปงานลูกค้านะ)ลองผิดลองถูก และบางที่ (ในหลาย ๆ ครั้ง)การ Crop ภาพนั้นก็ทำให้ภาพออกมาดูดีกว่าเดิม

5. ควรใช้กฎสามส่วนอยู่เสมอ

รูปคู่ของเรา จะวางเราไว้ตรงไหนก็ได้

กฎมีไว้เป็นแนวทาง ให้รู้และลองทำตาม (ในส่วนของการถ่ายภาพ)แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราควรที่จะปฏิบัติทุก ๆ อย่างอยู่ในกฎ กฎสามส่วนเป็นแนวทางที่ดี ศึกษาไว้ก็ไม่ได้เสียหาย เพียงแต่ว่าการถ่ายภาพโดยที่เราวางแบบไว้ตรงกลางก็ไม่ได้จะแปลว่าเป็นการถ่ายภาพที่ผิดกฎหรือไม่ดีแต่อย่างไร เพราะอย่างเช่น ถ้าเป็นภาพถ่ายครอบครัว ผมก็คงจะวางทุกคนไว้รวม ๆ กันตรงกลาง หรือบางทีภาพถ่ายบุคคลที่จะเอาไปใส่ Text ต่อ คงจับคนไว้ริมสุดแล้ว เหลือเนื้อที่อีกฝั่งไว้เยอะ ๆ สำหรับการวาง Text

และสุดท้ายนะครับ 

การถ่ายภาพ เป็นเรื่องสนุก เป็นเรื่องของการสร้างประสบการณ์​ เป็นเรื่องของการสร้างเรื่องราว อย่าไปเครียดกับกฎเกณฑ์มากจนเกินไป แล้วเต็มที่ไปกับมันอย่าง สบาย ๆ