บารมี เต็มบุญเกียรติ หรือ ก้อง ชายหนุ่มผู้หลงรักการถ่ายภาพธรรมชาติ ทั้งทางอากาศ เขาสูงป่าลึก ไปจนถึงผืนทรายใต้สมุทร หลังจากสะสมมุมมองผ่านภาพถ่ายมาหลายสิบปี รวมทั้งประสบการณ์ในด้านนิตยสารสารคดีท่องเที่ยว อาทิ นิตยสาร Advanced Thailand Geographic, Nature Explorer, สารคดี, อนุสาร อ.ส.ท. เป็นต้น 

กว่าจะมาถึงวันนี้... วันนั้นเขาต้องผ่าน และพบอะไรมาบ้าง



รายการโปรดวัยเด็กนำทางสู่อาชีพที่รัก

ตอนเด็กๆ ผมชอบดูรายการน่ารักน่าลุ้น เป็นรายการที่ทำให้ได้เห็นสัตว์ป่าหน้าตาแปลกๆ มากมาย จนเกิดความประทับใจและชอบมาตั้งแต่ตอนนั้น พอดูๆ ไปก็เกิดความสงสัยติดอยู่ในใจว่า ทำไมถึงไม่มีสัตว์ป่าของไทยเลย มีแต่สัตว์ป่าที่ถ่ายได้จากต่างประเทศ จนเมื่อโตขึ้นได้มีโอกาสเข้าสู่วงการถ่ายภาพ ก็สนใจอยากจะลองถ่ายภาพสัตว์ป่าไทย เพราะมีความยาก และท้าทายเป็นอย่างมาก

 


จากฟิล์มสู่โลกดิจิตอล

กล้องตัวแรกของผม คือ EOS 630 ผมใช้แคนนอนมาตั้งแต่สมัยฟิล์ม 36 รูปเวลาลงไปถ่ายใต้น้ำ เปลี่ยนเลนส์และฟิล์มไม่ได้ มีข้อจำกัดมากมาย จนถึงยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกล เราสามารถถ่ายภาพได้เป็นพันๆ รูป แคนนอนก็ยังโดดเด่นด้านรูปร่าง และเทคโนโลยีคุณภาพสูง ใช้แล้วถนัดมือ ตอนนี้ผมใช้กล้องแคนนอนมาแล้วกว่า 30-40 บอดี้ ใช้เลนส์มาแล้วกว่า 50-60 ตัว แล้วปัจจุบันก็ใช้ 500mm จนแทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายไปแล้ว

(500mm คือ เลนส์ EF 500mm f/4L IS USM)



ตัวอย่างกล้องคู่ใจที่พกไปเวลาถ่ายภาพธรรมชาติที่รัก

อุปกรณ์ติดมือของผม คือ EOS 1DX กับเลนส์ 500 mm ตัว ll แต่ถ้าเวลาที่ผมต้องไปถ่ายสัตว์ที่มีความไวต่อเสียงง่าย อย่างเช่น วัวแดง ผมจะหยิบเอาแคนนอน EOS 5D Mark lll เพราะรุ่นนี้มี Silent Mode (ปิดเสียงชัตเตอร์) หรือเวลาที่ไปดำน้ำก็จะใช้ EOS 5D Mark lll เพราะตัวเล็กกว่าสะดวกกว่าเวลาอยู่ใต้น้ำ กับ เลนส์ 8-15 mm. ครับ แต่ถ้าเป็นการถ่ายเสือ กวางผา หรือนกเงือกที่ไม่ตื่นต่อเสียง EOS-1D X คือคำตอบไม่มีกล้องตัวไหนดีที่สุด แต่เราต้องเลือกว่างานเราจะใช้กล้องแบบไหน


มีธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจ

ธรรมชาติสร้างให้ผมรู้จักทุกอย่าง ความสมหวัง ความผิดหวัง ยิ่งงานที่ผมทำพื้นฐานเกี่ยวข้องกับธรรมชาติอยู่แล้ว ก็เลยทำให้ผมเรียนรู้ว่าธรรมชาติจริงๆ นั้นมีอะไรให้เรียนรู้เยอะพอสมควร ไม่มีวันจบสิ้น ยิ่งเราเข้าไปหาธรรมชาติมาก ธรรมชาติก็เผยบางเรื่องราว บางแง่มุมให้เราได้รับรู้ ทำอย่างไรไม่ให้ธรรมชาติรู้สึกว่ามนุษย์คือสิ่งแปลกปลอม หรือเป็นส่วนเกิน ในฐานะช่างภาพที่ทำงานด้านนี้โดยตรง ผมบอกได้เลยว่า ยังไงมนุษย์ก็ยังเป็นส่วนเกินของธรรมชาติ ไม่มีสัตว์ตัวไหนยอมรับเรา เห็นก็ต้องหนี เราจึงต้องเรียนรู้การใช้อุปกรณ์เพื่อให้เราแนบเนียน ต้องทนร้อนในซุ้มบังไพร เพื่อแอบไม่ให้สัตว์เห็น เพื่อที่จะได้เห็นพฤติกรรมบางอย่างของพวกเขา สุดท้ายมนุษย์ก็ต้องหันหน้ามาทำความรู้จักกับธรรมชาติ รู้จักที่จะปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ ไม่ว่ามนุษย์คนนั้นจะเป็นช่างภาพหรือเป็นคนธรรมดา เพราะมนุษย์อยู่ได้ด้วยธรรมชาติ มันเป็นตัวกล่อมเกลาจิตใจ



ความรู้สึกของผู้ถ่ายทอดภาพสัตว์ป่า

สำหรับผมการได้ถ่ายภาพสัตว์ป่า คือ การนำสารจากธรรมชาติมาเผยแพร่สู่สาธารณะ ให้คนจำนวนมากได้ร่วมรับรู้ ให้ ลูกหลานได้เห็น และเราสามารถทำให้คนรู้สึกรักสัตว์นั้นๆ ได้ผ่านรูปที่มองเห็น เริ่มจากรูปต้องดึงดูด พอเขาสนใจก็จะอยากรู้ว่ามันคือตัวอะไร จากที่ไหน เมื่อเขาเริ่มสนใจ หมดหน้าที่ผมแล้ว หลายคนรักและรู้จักพวกมันผ่านบทความผ่านภาพถ่าย รักมันได้เหมือนกันทั้งๆ ที่ไม่เคยมีโอกาสได้เห็นตัวจริงๆ ก็ตาม





สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนเข้าป่า

1.เตรียมอุปกรณ์และอาหาร เริ่มเข้าซุ้มก่อนสัตว์จะเข้าพื้นที่ (ช่วงตี 4-5) และออกหลังสัตว์ออกไปแล้ว (ประมาณ 1 ทุ่ม)
2.ต้องเตรียมแบตเตอรี่สำรอง เพราะหลังๆ มีการถ่ายวิดีโอด้วย
3.เตรียมการ์ดข้อมูลให้พร้อม
4.น้ำประมาณ 3 ลิตร กาแฟ 1 ลิตร ข้าวกล้อง ผลไม้
5.อุปกรณ์กล้อง EOS 1DX/ EOS 5D Marklll และ EOS 50D สำหรับติดเป็น Camera trap



เคล็ดไม่ลับสำหรับผู้ที่อยากเป็นช่างภาพสัตว์ป่า


ช่างภาพสัตว์ป่าต้องรู้ทักษะการใช้กล้อง การเดินป่า ดำน้ำ ปีนผา สามารถนำประสบการณ์ทั้งดีและไม่ดีเก็บกลับมาใช้ได้หมด ที่สำคัญจะต้องมีจินตนาการในการสร้างมุมภาพ มีการวางแผนจุดที่อยากถ่าย เน้นว่าคุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ เพราะบางครั้งกว่าที่จะได้ภาพที่ดี อาจจะต้องใช้เวลา และเฝ้ารอจนกว่าธรรมชาติจะจัดสรรให้เราได้ช็อตนั้นๆ กลับมา นอกจากนี้ ช่างภาพสัตว์ป่าจะต้องรู้จักพฤติกรรมสัตว์ รู้จักเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และต้องช่างสังเกตด้วย

บารมี เต็มบุญเกียรติ หรือ ก้อง ชายหนุ่มผู้หลงรักการถ่ายภาพธรรมชาติ ทั้งทางอากาศ เขาสูงป่าลึก ไปจนถึงผืนทรายใต้สมุทร หลังจากสะสมมุมมองผ่านภาพถ่ายมาหลายสิบปี รวมทั้งประสบการณ์ในด้านนิตยสารสารคดีท่องเที่ยว อาทิ นิตยสาร Advanced Thailand Geographic, Nature Explorer, สารคดี, อนุสาร อ.ส.ท. เป็นต้น บารมีรวบรวมภาพถ่ายที่สะท้อนธรรมชาติในเมืองไทยจำนวน 40 ภาพ นำมาจัดแสดงนิทรรศการภายใต้ชื่อว่า 26;ldquo;จากขุนเขา จรดแนวปะการัง26;rdquo; ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และกำลังจะจัดขึ้นอีกครั้งที่ จ.เชียงใหม่ราวๆ ปลายเดือนพฤษภาคมนี้ นอกจากนี้เขายังได้รวบรวมภาพที่จัดแสดงทำเป็น Photobook ชื่อเดียวกับนิทรรศการ ยิ่งตอกย้ำให้ภาพของช่างภาพสัตว์ป่าแนวหน้าของเมืองไทยชัดเด่นขึ้น