ไอเดียในการถ่ายภาพบุคคล สำหรับมือใหม่ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ทำให้ภาพสวยขึ้น เคล็ดลับในการถ่ายภาพบุคคล เป็นโจทย์การถ่ายภาพที่เรียกได้ว่ามีความต้องการมากที่ สุด พื้นฐานที่เราได้ยินกันมาเยอะแยะมากมาย  ซึ่งเหมือนจะง่ายนะแต่ หลาครั้งที่เรารู้สึกว่าในหัวมันว่างเปล่าไปหมด ไม่รู้จะถ่ายภาพคนออกมายังไง ในวันนี้เรามารื้อฟื้นและเริ่มต้นที่จะโฟกัสให้กับการถ่ายภาพบุคคลอีกครั้งนึงกันดีกว่า

เริ่มกันด้วยเรื่องของแสง แสงธรรมชาติช่วยให้เราได้ผลลัพธ์ในการถ่ายภาพบุคคลที่ดีมาก น้ำหนักของแสงอาทิตย์ที่นุ่มนวลตามช่วงเวลา ความอิ่มตัวของสี เราสามารถเลือกใช้แสงจากหน้าต่างก็ได้ หรือใช้แสงอ่อน ๆ ที่ค่อย ๆ สาดเข้ามาอย่างบางเบา ทำให้เราถ่ายภาพได้อารมณ์ที่นุ่มนวล ทำให้แบบดูน่าหลงใหล และประกายแสงแดดที่อ่อนโยนเวลาโดนผมของแบบ ทำให้ผู้หญิงดูมีเสน่ห์ น่ามองมาก

บ่อยครั้งที่เราเผลอเลือกใช้ฉากหลังที่มันดูโดดเด่น ตื่นเต้น น่าสนใจ แต่ถ้ามองดี ๆ พื้นหลังอย่างนั้นอาจจะเข้ามารบกวนตัวแบบ หรือแย่งความโดดเด่นจากตัวแบบได้ การที่ภาพบุคคลส่วนใหญ่ถ้าเราสังเกตดี ๆ จะเลือกพื้นหลังที่ดูคลีน รายละเอียดน้อย ไม่รกจนทำให้ตัวแบบถูกรบกวน   และเมื่อฉากหลังดูเกลี้ยง จุดสนใจจะตกไปอยู่ที่ตัวแบบ เราสามารถโฟกัสเน้นไปที่อารมณ์ของแบบได้มากขึ้น อารมณ์ของใบหน้า แววตา ท่าทาง สามารถถูกถ่ายทอดไปยังคนดูได้อย่างเต็มที่โดยปราศจากการรบกวนจากฉากหลัง  แต่ก็ขึ้นอยู่กับโจทย์ที่เราวางไว้ ไม่ได้บอกว่าห้ามเล่นกับฉากหลังเลย เพราะภาพบุคคลที่เล่นกับฉากหลังก็มีหลายครั้งที่งานออกมาดี 

โหมดที่แนะนำให้ใช้สำหรับถ่ายภาพบุคคล โหมดที่จะแนะนำแบบสวยเร็วสุด คือ AV หรือ M หรือหากใครไม่ถนัดเล่นโหมด Manual ขอให้เลือกใช้โหมดออโต้แบบ Portrait สังเกตง่ายๆว่าจะมีสัญลักษณ์รูปคน ซึ่งกล้องจะคำนวณค่าให้เหมาะกับการถ่ายบุคคลให้สวย ส่วนใครที่เลือกโหมด AV หรือ M สาเหตุที่ให้เลือกโหมดนี้คือเราสามารถควบคุมความกว้างของรูรับแสงได้ซึ่งขนาดความกว้างของรูรับแสงจะมีผลโดยตรง ต่อมิติภาพ หรือเรียกว่าละลายฉากหลัง การตั้งค่ากล้องให้ละลายหลัง หากเราอยากถ่ายภาพบุคคลให้ละลายหลังมากๆ สิ่งที่เราต้องทำคือตั้งค่ารูรับแสงให้กว้าง โดยในกล้องจะแสดงค่าขนาดรูรับแสงให้เราเห็นเป็นเลข f/2.8 , f/4, f/5.6, f/8,… ยิ่งค่า "F" มีเลขน้อยเท่าไหร่รูรับแสงจะยิ่งกว้างขึ้นทำให้ละลายหลังได้มากขึ้นเพราะระยะชัดมีน้อยเราเรียกว่า ชัดตื้น กลับกันถ้าเลข "F" มากรูรับแสงจะแคบภาพจะชัดตั้งแต่ข้างหน้าจนถึงข้างหลังเพราะระยะชัดมีมากเราเรียกว่า ชัดลึก “ เลข F มากรูรับแสงแคบ เลข F น้อยรูรับแสงกว้าง

การเลือกใช้ช่วงเลนส์มีผลกับการละลายหลัง หากเราใช้ช่วงเลนส์ที่กว้างหรือเลนส์ไวด์จะมีความชัดลึกมาก สังเกตง่ายๆจากการใช้เลนส์คิทถ่ายภาพที่ช่วงกว้างสุดจะเห็นว่าฉากหลังค่อนข้างชัดไม่ละลายมากนัก กลับกันหากเราเลือกใช้ช่วงเลนส์ที่ไกลหรือเทเลโฟโต้ เราจะได้ความชัดตื้นมากขึ้นทำให้ถ่ายภาพละลายฉากหลังได้ง่ายขึ้น

ช่างภาพหลายคนรู้ว่าดวงตาของตัวแบบเป็นสิ่งสำคัญในการถ่าย Portrait วิธีที่ดีที่สุดคือให้ดวงตาคมชัดและอยู่ในระยะโฟกัส ให้ตั้งค่าการโฟกัสไปที่ดวงตาของตัวแบบ เปิดรูรับแสงกว้าง วัตถุอื่นจะดูเบลอ และช่วยดึงดูดสายตาไปที่ดวงตา ช่วยสร้างภาพถ่ายบุคคลที่บ่งบอกความป็นตัวตน ถือเป็นจุดสำคัญมากที่สุดในการถ่ายภาพบุคคลเลทีเดียวแหละ เพราะดวงตาจะถ่ายทอดอารมณ์ของคนๆนั้นออกมาได้ การถ่ายภาพบุคคลนั้นไม่ใช่แค่เราถ่ายรูปคนๆหนึ่งยิ้มเฉยๆแต่ยังเป็นการเก็บอารมณ์ของเขา การโฟกัสที่ดวงตาจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งระบบโฟกัสที่แนะนำให้ใช้คือ One Shot เลือกใช้จุดโฟกัสแบบจุดเดียว และการใช้งานแบ่งเป็น 2 ลักษณะ

โฟกัสก่อนแล้วจึงจัดองค์ประกอบ วิธีนี้ให้เรากดชัตเตอร์ครึ่งหนึ่งโดยเล็งไปโฟกัสที่ดวงตาแบบก่อน แช่นิ้วค้างไว้แล้วค่อยๆเลื่อนกล้องอย่างช้าๆเพื่อจัดองค์ประกอบภาพ ระวังอย่าให้ระนาบระยะห่างระหว่างตัวแบบและกล้องเปลี่ยนไปมากนัก(จริงๆไม่ควรเปลี่ยนเลย)เพราะจะทำให้ดวงตาที่เราโฟกัสไว้หลุดออกจากระยะโฟกัส เมื่อจัดองค์ประกอบภาพได้แล้วจึงลั่นชัตเตอร์ วิธีนี้นิยมใช้กันมากที่สุดเนื่องจากมีความรวดเร็ว ในช่วงแรกๆเราจะยังไม่ชำนาญและทำให้ภาพหลุดโฟกัสบ้างตอนช่วงจัดองค์ประกอบ เป็นเรื่องปกติครับอย่าเพิ่งท้อ ทำต่อไปบ่อยๆเราจะยิ่งชำนาญจนแทบไม่พลาดเลย

จัดองค์ประกอบก่อนแล้วจึงโฟกัส วิธีนี้โฟกัสเข้าแน่นอนกว่าวิธีแรกใครที่ซีเรียสงานมากๆจะใช้วิธีนี้คือเราจัดองค์ประกอบไว้ก่อนเลยจากนั้นจึงค่อยเลื่อนจุดโฟกัสไปหาดวงตานางแบบเพื่อโฟกัสแล้วกดถ่ายได้เลย วิธีนี้โฟกัสเข้าตาแน่นอนแต่ค่อนข้างช้าจนบางครั้งอาจทำให้เราเสียโอกาสจะได้รูปนั้นไปเลย

เคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามในการถ่าย Portrait ช่างภาพบางคนรอจนกระทั่งถึงเวลาที่ใช่ จึงมีโอกาสได้ภาพถ่ายเจ๋งๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่แตกต่างกัน และยิ่งเชี่ยวชาญในการถ่ายภาพในสภาพแสงต่างๆที่ท้าทาย

การถ่ายภาพในช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะแสงจะแข็ง จนทำให้รายละเอียดของภาพหายไป ซึ่งวิธีแก้ปัญหาคือให้ย้ายตัวแบบไปอยู่ใต้ร่ม หรือจะใช้แฟลชเบาๆ เพื่อให้แสงเติมเต็มภาพให้สมบูรณ์ หรือจะใช้แผ่นสะท้อนแสง Reflect

ท้องฟ้ามีเมฆมากเป็นสภาพแสงที่ดี และเหมาะกับการถ่าย Portrait Outdoor มาก เนื่องจากก้อนเมฆจะเป็นตัวลดแสง ช่วยสร้างแสงที่นุ่มนวล หรือลองใช้แผ่นสะท้อนแสงเพื่อให้แสงสะท้อนไปที่ใบหน้าของตัวแบบ แสงจะนุ่มนวลขึ้น

ในสภาพแสงที่ไม่มีดวงอาทิตย์ จะไม่สว่างเหมือนช่วงเที่ยงวัน ซึ่งเราอาจต้องใช้สปีดชัตเตอร์ช้าๆ เปิดรููรับแสงกว้าง และ ISO สูงๆ เพื่อให้ได้แสงสว่างมากที่สุด และใช้แฟลชเบาๆ หรือแผ่นสะท้อนแสงสีเงินในการถ่าย Portrait ก็ได้ 

เวลาช่วงเช้าที่ดวงอาทิตย์เพิ่งขึ้น หรือช่วงเย็นก่อนดวงอาทิตย์ตก เป็นช่วงเวลาที่ห้ามพลาดในการถ่าย Portrait ยิ่งถ่ายย้อนแสง ก็จะได้ภาพโทนสีทองที่ดูอบอุ่นและนุ่มนวล และในบางครั้งก็อาจได้ rim light สีทอง ตามตัวแบบอีกด้วย

 เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากยิ่งดี จะช่วยเพิ่มความคมชัดให้กับตัวแบบ และเพิ่มโอกาสในการเกิด Bokeh ที่่ฉากหลังอีกด้วย เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัส 70mm หรือน้อยกว่านี้อาจทำให้ใบหน้าของตัวแบบดูผิดสัดส่วนได้ ส่วนมาก Portrait จะใช้ที่ทางยาวโฟกัสระหว่าง 120mm - 200mm เนื่องจากเลนส์ telephoto จะให้ความชัดลึก ช่วยให้ฉากหลังเบลอ และดึงตัวแบบให้เข้ามาใกล้อยู่ในระยะโฟกัส

ควรเลือกโลเกชั่นที่เต็มไปด้วยแสงธรรมชาติ และหาองค์ประกอบที่น่าสนใจ อาจเป็นฉากสนามหญ้า แต่ควรคิดอยู่เสมอว่าให้เลือกสถานที่ที่เข้ากับตัวแบบของคุณด้วย

การจัดองค์ประกอบภาพให้ดีนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับ Portrait ควรแน่ใจว่าสภาพแวดล้อม รอบๆ ตัวแบบนั้นน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นฉากหน้าหรือฉากหลังที่จะช่วยเพิ่มความลึกและมิติให้ภาพ อย่าลืมมองหาเส้นนำสายตา วัตถุที่น่าสนใจ สีสันหรือ texture เด่นๆ ก็จะช่วยให้ภาพของคุณโดดเด่นได้ นอกจากนี้การเปลี่ยนมุมมองในการถ่ายภาพ ก็ช่วยให้ได้องค์ประกอบใหม่ๆ อาจมองหาสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ เพื่อให้ภาพดูมี texture  อีกสิ่งหนึ่งที่ควรระวังในการจัดองค์ประกอบภาพคือฉากหลัง ให้มองหาฉากหลังที่น่าสนใจและเหมาะกับตัวแบบของคุณ Texture ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สามารถสร้างฉากหลังอันยอดเยี่ยมได้ ให้ลองนึกถึงอาคารเก่าๆ และสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ หรือจะใช้รูรับแสงกว้างสุด และวางตัวแบบไว้ไกลจากฉากหลัง เพื่อให้ได้ภาพหน้าชัดหลังเบลอ ควรระวังฉากหลังที่รกเกินไป

ท้ายที่สุดการถ่ายภาพบุคคลให้สวยมันไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ฉะนั้นเราไม่อยากให้ทุกคนยึดติดว่าจะต้องทำตาม แต่อยากให้ใช้จินตนาการและความรู้สึกที่อยากถ่ายทอดออกมาสร้างสรรค์แนวทางในแบบของตัวเอง เพียงแต่หากวันไหนเราคิดอะไรไม่ออก การทำตามพื้นฐานนี้จะช่วยให้เราได้ภาพที่ดีได้ไม่ยากครับ ขอบคุณครับ